โรงเรียนบ้านวังยาง ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2470 โดยอาศัยศาลาวัดบ้านวังยาง และเป็นสาขาของ โรงเรียนประชาบาลตำบลบุ่งหวาย 1 (บ้านวังยาง)
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2479 ได้โอนเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนประชาบาล ตำบลบุ่งหวาย 3 (วัดบ้านโนนบอน) ด้วยเหตุที่เป็นโรงเรียนสาขา จึงยัง
ไม่มีครูใหญ่มาดำรงตำแหน่งนี้ในโรงเรียน
วันที่ 20 พฤษภาคม 2481 ได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนเอกเทศ ให้ชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาลตำบลบุ่งหวาย 4 (วัดบ้านวังยาง)" มี นายรอด ภูเกิด เป็น ครูใหญ่คนแรก
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนประชาบาลตำบลบุ่งหวาย 4 (วัดบ้านวังยาง) เป็น "โรงเรียนประชาบาล 3 (วัดบ้านวังยาง)"
เนื่องจากโรงเรียนประชาบาล ตำบลบุ่งหวาย 1 (วัดบ้านบุ่งหวาย) ได้รวมเป็นโรงเรียนเดียวกันกับโรงเรียนประชาบาลตำบลบุ่งหวาย 3 (วัดบ้านโนนบอน)
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2492 คณะกรรมการหมู่บ้านได้จับจองที่ดินด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เพื่อปลูกสร้างโรงเรียน สังกัดกรมประชาบาลศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ และได้โอนไปสังกัดกรมสามัญศึกษา ในปีเดียวกัน
วันที่ 1 ตุลาคม 2592 ได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย
ในปี พ.ศ.2511 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “โรงเรียนบ้านวังยาง” เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2511
ในปี พ.ศ. 2521 ได้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้น และชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 เริ่มใช้หลักสูตร พ.ศ. 2521 เป็นปีแรก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2521 ได้รับการรังวัดที่ดินของโรงเรียนโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อทำ น.ศ.3 ก. คิดเป็นเนื้อที่ 30 ไร่ 2 งาน 27 ตารางวา
วันที่ 1 ตุลาคม 2522 ได้เปลี่ยนสังกัดจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้รับงบประมาณสร้างส้วมนักเรียน 1 หลัง (แบบ 401) จำนวน 5 ห้อง ที่ปัสสาวะ 1 ที่ ราคา 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน 1 หลัง แบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด ราคา 75,000 บาท (เจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2526 นายเจริญ จำปารัตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง แบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดราคา 75,000 บาท (เจ็ดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเอนกประสงค์ 1 หลัง (แบบ สปช. 203 ) ราคา 277,000 บาท (สองแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)
ในปี พ.ศ. 2529 เริ่มเปิดสอนชั้นเด็กเล็ก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 นายเจริญ จำปารัตน์ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านศรีษะกระบือสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวารินชำราบและนายวิสันต์ อุทธการ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านทุ่งเทิง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเดชอุดม ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน
ในปี พ..ศ. 2536 ได้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับเริ่มเปิดสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนชาย 14 คน และนักเรียนหญิง 15 คน รวมทั้งสิ้น 29 คนและได้เปิดสอนโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาชนบทในปีเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2538 เปิดสอนชั้นก่อนประถมศึกษา (อนุบาล 1 และอนุบาล 2 )
ในปี พ.ศ. 2539 เป็นโรงเรียนเป้าหมายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนเป็น 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถม ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้

1. ระดับก่อนประถมศึกษา เปิดสอน 2 ห้องเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2
2. ระดับประถมศึกษา เปิดสอน 6 ห้องเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6
3. ระดับมัธยมศึกษา เปิดสอน 3 ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ถึงปัจจุบัน มีผู้บริหารโรงเรียน เท่าที่ปรากฏ ดังนี้

1. นายรอด ภูเกิด ครูใหญ่ พ.ศ. 2481 - 2483
2. นายจำดี เดชวงศ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2483 - 2484
3. นายน้อย โอสฬส ครูใหญ่ พ.ศ. 2484 – 2486
4. นายสุข สุขยิ่ง ครูใหญ่ พ.ศ. 2486 – 2492
5. นายถวิล ยชนะ ครูใหญ่ พ.ศ. 2492 – 2511
6. นายสิงห์ แก่นบุดดี ครูใหญ่ พ.ศ. 2511 – 2517
7. นายเจริญ จำปารัตน์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2517 - 2526
8. นายวิสันต์ อุทธการ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2526 - 2551
9. นายสมศักดิ์ แฝงพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2551 - 2561
10. นายวาสุเทพ
ศุภโกศล ผู้อำนวยการโรงเรียน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

ปี 2542 ได้รับงบประมาณ มิยาซาวา สร้างส้วมนักเรียนหนึ่งหลัง 4 ที่ มีที่ปัสสาวะ 1 ที่ ราคา 111,000 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)

ได้รับงบมิยาซาวาสร้างถังเก็บน้ำ(แบบ ฝ.30พิเศษ ) ราคา 81,000 บาท (แปดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียน (สปช. 105 /29)

ชั้นล่าง ราคา 298,724 บาท (สองแสนเก้าหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยยี่สิบสี่บาทถ้วน) ในปีเดียวกัน

ปี 2545 ได้รับงบประมาณสร้างลานกีฬาเอนกประสงค์ แบบกรมพลศึกษา ราคา 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

ปี 2546 ได้รับงบประมาณ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 102/26 จำนวน 699,300 บาท (หกแสนเก้าหมื่นเก้าพันสามร้อยบาทถ้วน)

ปี 2546 เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านวังยาง ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ

ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ปี 2553 โรงเรียนบ้านวังยางเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ,4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1

ปี 2554 ชั้น ป.2 ,5ม.2 และปี 2555 ชั้นป.3 ป.6 และม. 3